อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผู้ป่วย Patient Transportation Chamber

Negative pressure chamber
Patient transportation chamber
Background
COVID-19 เป็นโรคที่แพร่กระจายไปกับละอองฝอยขนาดใหญ่ (Droplet transmission) เช่น การไอหรือจาม ซึ่งการแพร่กระจายแบบนี้เชื้อไวรัสจะอยู่ในอากาศได้ไม่นานและกระจายไกลจากผู้ป่วยเพียง 1-2 เมตรเท่านั้น แต่ความน่ากลัวคือเมื่อฝอยละอองนั้นไปตกอยู่บนวัตถุใด เชื้อ COVID-19 ก็สามารถมีชีวิตอยู่บนวัตถุนั้นได้นานและแพร่กระจายต่อได้หากมีบุคคลอื่นมาสัมผัสวัตถุที่มีเชื้อไวรัสติดอยู่
นอกจากนี้ COVID-19 ยังจะสามารถแพร่กระจายผ่านละอองฝอยขนาดเล็ก (Airborne transmission) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อมีการทำหัตถการที่ทำให้เกิดละอองฝอยกับผู้ป่วย การแพร่กระจายวิธีนี้เชื้อไวรัสจะสามารถลอยอยู่ในอากาศได้นานถึง 5 ชั่วโมงและแพร่กระจายไปได้ไกลกว่าเดิมมาก
ดังนั้นอุปกรณ์ที่ใช้ขนส่งผู้ป่วยโรค COVID-19 จากสถานที่หนึ่งไปอีกที่ จึงควรที่จะมีระบบปิดและมีการกรองเชื้อไม่ให้แพร่กระจายออกไปสู่สภาพแวดล้อมภายนอกได้
การแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 ขณะขนส่งผู้ป่วยสามารถเป็นได้ทั้งแบบ Droplet transmission และ Airborne transmission ในกรณีที่มีการใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวกขณะขนส่งผู้ป่วย (ยกตัวอย่างเช่น Non-invasive ventilation, Continuous positive airway ventilation, High-flow nasal oxygenation)
การออกแบบที่มีการเผยแพร่
1. Negative pressure Chamber (รพ.หาดใหญ่)
หลักการ: สร้าง Negative pressure ให้เกิดขึ้นใน Chamber ที่สามารถกั้นผู้ป่วยจากสิ่งแวดล้อมได้
วัสดุอุปกรณ์
- Chamber: สร้างโครงด้วยท่อ PVC และ ใช้ผ้าใบโปร่งแสงเย็บคลุมส่วนที่เหลือ
- ช่องให้ทำหัตถการ : เป็นรูเปิดบนผ้าใบที่ถูกปิดไว้ด้วยตีนตุ๊กแก มีข้อเสียคือ เปิดรูมาทำหัตถการจะทำให้เกิดช่องทางเชื่อมต่อระหว่างภายใน Chamber และสภาพแวดล้อมภายนอกทำให้เชื้อไวรัสหลุดลอดออกมาได้
- Negative pressure: ใช้พัดลมสร้าง Negative pressure ต่อเข้ากับ HEPA filter ระดับE13 ซึ่งต่อเข้ากับที่ระบายควันอีกที
- พลังงานสำรอง : เนื่องจากต้องมีพลังงานสำรองขณะขนส่งผู้ป่วยซึ่งอาจจะกินเวลานานถึง 1 ชั่วโมง กรณีที่ไปทำหัตถการต่างๆ
- เปลเข็นผู้ป่วย
การทดสอบการใช้งาน
- ใช้น้ำแข็งแห้งตรวจสอบรอยรั่วของอุปกรณ์
- ทดลองให้ผู้ป่วยเข้าไปนอนจริง
อ้างอิง : https://www.facebook.com/thagoon.kanjanopas/posts/10219442079896966
2. Negative pressure Chamber (รพ.จุฬา)
หลักการโดยทั่วไปเหมือนกับรพ.หาดใหญ่ แต่มีข้อแตกต่างคือ
- ช่องทำหัตถการจะมีลักษณะเป็นถุงมือยื่นเข้าไปข้างในที่เย็บติดกับโครงภายนอก มีข้อดีคือ 1. แพทย์ไม่จำเป็นจะต้องใส่ชุดป้องกันก่อนจะเข้าไปทำหัตถการกับผู้ป่วย 2. ไม่มีช่องทางเชื่อมต่อระหว่างภายใน chamber และสภาพแวดล้อมภายนอก
- ลักษณะ Chamber เล็กกระทัดรัดและไม่มีองค์ประกอบของโลหะ ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปทำการทดสอบต่างๆ เช่น เข้าอุโมง X-ray (CT scan) ได้
อ้างอิง : https://www.facebook.com/rattaplee.pakart/posts/4117800608233893
หากท่านมีการออกแบบที่ได้รับการพิสูจน์การใช้งานแล้ว หรือข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์
สามารถติดต่อได้ที่ contact@covid19roundtable.com
ต้องการความช่วยเหลือ:
ขอทราบความคืบหน้าทีมอื่น เพื่อแบ่งปันข้อมูล