ปัญหา : ขณะการใส่ท่อช่วยหายใจมีความเสี่ยงสูงของการกระจายของสารคัดหลั่งเป็นฝอยละออง ทำให้แพทย์ผู้ทำหัตถการมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ
Background
ช่องทางการแพร่กระจายเชื้อ
ในภาวะปกติไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านการสัมผัสผู้ติดเชื้อ (contact transmission) และทางฝอยละอองสารคัดหลั่ง (droplet transmission)
แต่ในวิจัยพบว่า การทำหัตถการความเสี่ยงสูงบางชนิด เช่น การใส่ท่อช่วยหายใจ (tracheal intubation) สามารถทำให้เกิดฝอยละอองขนาดเล็กที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายไปได้ไกลในอากาศ
(air-borne transmission) ซึ่งไม่สามารถป้องกันด้วยอุปกรณ์ป้องกันทั่วๆไปได้
Ref: https://www.cnbc.com/2020/03/16/who-considers-airborne-precautions-for-medical-staff-after-study-shows-coronavirus-can-survive-in-air.html
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการใส่ท่อช่วยหายใจ
หากผู้ป่วยมีอาการที่มีข้อบ่งชี้ต่อการพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ ( เช่น หายใจหอบเหนื่อย ) แพทย์จะพิจารณาใส่ท่อช่วยหายใจ ซึ่งเป็นหัตถการที่ต้องทำอย่างรวดเร็ว เนื่องจากในช่วงที่ทำผู้ป่วยจะไม่ได้รับออกซิเจน
โดยขั้นตอนการใส่ แพทย์จะยืนบริเวณหัวเตียงคนไข้ และใช้blade (Laryngoscope) ใส่เข้าไปในปากผู้ป่วย
แพทย์จะมองผ่าน laryngoscope เพื่อให้เห็น vocal cord หลังจากนั้น แพทย์จะทำการใส่ท่อช่วยหายใจโดยในขั้นตอนนี้หากแพทย์มองไม่เห็นเนื่องจากมีสารคัดหลั่งหรือเลือด ในขั้นตอนนี้ พยาบาลจะทำการ suction สารคัดหลั่งออก โดยเข้าทางด้านข้าง หลังจากแน่ใจว่าท่อช่วยหายใจอยู่ในตำแหน่งดีแล้ว แพทย์จะทำการต่อท่อช่วยหายใจกับ ambu bag และติดเทปเพื่อ fix ท่อช่วยหายใจให้อยู่ในตำแหน่ง

เมื่อท่อช่วงหายใจอยู่ในตำแหน่งดีแล้ว แพทย์จะนำท่อช่วยหายใจไปต่อกับเครื่องช่วยหายใจ
การออกแบบที่มีการเผยแพร่

Drawing.PDF:
https://www.dropbox.com/transfer/AAAAABTM8kNTR6yKvH1ZA5-99QBY8T-ER6Ay0eYSOyCSF0I5HaxLr_U?fbclid=IwAR0yjbpexZaktDfVvTgS37MZtjAsrVFSFMal0Bd7-rqODznKDNv8bh1cds0
Ref: https://www.facebook.com/OpenSourceCOVIDTH/posts/111754550468049
Credit: คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง
Laser cutting Machine หรือ CNC หรือ อุปกรณ์สำหรับตัดอะคริลิก
วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
1. แผ่นอะคริลิก
2. น้ำยาประสานอะคริลิก หรืออะไหล่สำหรับยึดประกอบ
3. แผ่นยางกลมสำหรับปิดช่องที่แพทย์สอดแขน หรือ แผ่นสำหรับยึดติดถุงมือพลาสติกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
4. แผ่นพลาสติกสำหรับคลุมตัวผู้ป่วย (เพิ่มเติม)
หากท่านมีการออกแบบที่ได้รับการพิสูจน์การใช้งานแล้ว หรือ มีข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์
สามารถติดต่อได้ที่ contact@covid19roundtable.com
Living Center / Marino, N/A
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
Living Center / Marino, N/A
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
รายละเอียด
พวกเราบริษัท Living Center / Marino ขอร่วมช่วยเหลือสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยดัดแปลงจากสิ่งที่เราถนัด คือการผลิตอ่างอาบน้ำ มาเป็นอุปกรณ์ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ Aerosol Shield ขณะทำหัตถการให้ผู้ป่วย โดยเฉพาะการสอดท่อช่วยหายใจ
ขนาด Dimensions
* ความกว้างของฐาน 60.5 cm (เหมาะสำหรับเตียงที่มีขนาดกว้าง 61 cm ขึ้นไป)
* ความยาวของฐาน 74 cm
* ความสูงด้านใน 37.5 cm
* เจาะรูด้านหน้าสองรู และ ด้านขวา 1 รู เพื่อให้แพทย์/พยาบาล ยื่นแขนเข้าไปปฎิบัติการ และมีปลายท่อเพื่อใช้ติดถุงมือ
* ผลิตโดยการขึ้นรูป Vaccuum Forming จากโมลด์อ่างอาบน้ำที่เรามีอยู่แล้ว จึงทำให้สามารถผลิตได้ทันที แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถปรับขนาด และ รูปร่างได้
สำหรับแพทย์ หรือหน่วยงานทางการแพทย์ ที่ต้องการรับ Protective Cover / Aerosol Sheild สามารถเข้าไปลงข้อมูลเพื่อให้เราติดต่อกลับได้ที่ link ด้านล่างนี้
https://www.living-center.co/covid19
ถ้าโรงพยาบาลใดมีความต้องการ และ สามารถนำไปใช้ได้จริงก็ติดต่อเข้ามานะครับ แต่เราขอติดต่อกับโรงพยาบาลผู้รับโดยตรง เนื่องจากปัจจุบันก็มีหลายโรงพยาบาลที่มีแล้ว หรือ กำลังจะได้ของ เราจึงอยากให้แน่ใจว่าผู้รับจะสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้จริง
ข้อมูลติดต่อ
https://www.living-center.co/covid19
บริษัท ไอดี สตูดิโอ จำกัด, N/A
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
บริษัท ไอดี สตูดิโอ จำกัด, N/A
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
กำลังการผลิต (หรือที่คาดว่าจะผลิตได้)
50
ข้อมูลติดต่อ
กรุณาติดต่อทีมงานที่ contact@covid19roundtable.com เพื่อขอข้อมูลติดต่อค่ะ
PTA, กรุงเทพ
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
PTA, กรุงเทพ
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
กำลังการผลิต (หรือที่คาดว่าจะผลิตได้)
10
ข้อมูลติดต่อ
กรุณาติดต่อทีมงานที่ contact@covid19roundtable.com เพื่อขอข้อมูลติดต่อค่ะ
คุณสุดาดวง นาคะสุวรรณ, กทม
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
คุณสุดาดวง นาคะสุวรรณ, กทม
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
กำลังการผลิต (หรือที่คาดว่าจะผลิตได้)
250 รพ
รายละเอียด
ปัจจุบัน มีโรงพยาบาลที่แจ้งความประสงค์ต้องการอุปกรณ์เข้ามาโดยตรงกับเรากว่า 100 แห่ง และยังมีอีกเกือบ300รพ.ที่เรามีรายชื่อว่ายังขาดแคลน
ขอแบ่งการทำงานเป็นเฟสตามนี้นะคะ
1. กว่า 100 รพ.ที่ติดต่อเข้ามาทางFBนี้โดยตรง และได้แจ้งความต้องการ ว่าจำเป็นต้องใช้ Model A และ B แบบละกี่ชิ้น เราจะผลิตและจัดส่งให้ตามจำนวนที่แจ้ง โดยลำดับการจัดส่งจะแบ่งตามที่ตั้งโรงพยาบาล ให้รถบรรทุกเฉพาะกล่องอะคริลิค วิ่งสายทีละภูมิภาค โดยเราตั้งใจให้เฟสนี้จบภายในสัปดาห์หน้า
2. อีกเกือบ 300 รพ.ที่เรามีรายชื่ออยู่ว่าขาดแคลน หากงานเฟส 1 เสร็จแล้วและยังมีงบเหลือ เราจะทำการติดต่อเพื่อสอบถามความต้องการต่อไป
ปัจจุบัน เราผลิตกล่องอะคริลิค 2 แบบ
Model A :กล่องป้องกันการกระเด็นของสารคัดหลั่งตอนใส่และถอดท่อหายใจผู้ป่วย
ต้นทุนการผลิต : 1650-1750บาท / กล่อง
Model B :ฉากกั้น swab เชื้อ สำหรับวางบน over bedใช้ตอนเก็บตัวอย่างสารคัดหลั่ง ผู้ป่วยเคสสงสัย Covid19
ต้นทุนการผลิต : 1000-1150บาท / กล่อง
ราคาต้นทุนแต่ละกล่องอาจไม่เท่ากัน เนื่องจากสต๊อกอะคริลิคในตลาดตอนนี้ค่อนข้างหายาก เราจำเป็นต้องแบ่งซื้อจากหลายที่ ในราคาไม่เท่ากัน และวางแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตไปหลายโรงงานในราคาค่าแรงที่ต่างกันเพื่อให้ผลิตกล่องให้เร็วที่สุด
ขอบคุณความช่วยเหลือที่หลั่งไหลเข้ามาทุกทาง จนกล่าวขอบคุณไม่หมด รวมถึง แหม่มโพธิ์ดำ หมอแล็บแพนด้าและ Drama-addict ที่ช่วยแชร์ข่าวสาร 🙏🙏🙏🙏
************************
เรายังต้องการการสนับสนุน
- เงิน สามารถโอนมาได้ที่ บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย 702-2-21459-9 นางสาวสุดาดวง นาคะสุวรรณ
- แผ่นอะคริลิคใส หนา 3 และ 5 มม. ขอบริจาคหรือราคาพิเศษ
-โรงงานตัด ประกอบอะคริลิค โดยเบื้องต้นสามารถดาวน์โหลดไฟล์กล่องได้ที่ https://www.dropbox.com/sh/pkdkpanhusr1kjj/AABR_pMz3GHoHVtHx8jnn87Ba?dl=0
ถ้าสามารถตัดประกอบได้ตามแบบ ติดต่อมาช่วยผลิตได้เลยค่ะ
***กรุณาตัด พับ engrave ตามที่กำหนด ติดเส้นดามอะคริลิคสามเหลี่ยม และไม่ลดสเปคความหนาอะคริลิค เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน บานพับModel A ต้องเป็นอะคริลิค ไม่เปลี่ยนเป็นโลหะ เพราะจะเกิดสนิมเวลาเจอน้ำยาฆ่าเชื้อ และช่วยใช้กระดาษทรายลบคมที่รูสอดแขนให้คุณหมอด้วยนะคะ***
ขอให้ทุกคนสุขภาพแข็งแรง ขอบคุณจริงๆค่ะ🙏
ข้อมูลติดต่อ
กรุณาติดต่อทีมงานที่ contact@covid19roundtable.com เพื่อขอข้อมูลติดต่อค่ะ
Hero Guard, กรุงเทพมหานคร
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
ต้องการความช่วยเหลือ:
ถุงขนาด 30 “ x 50 “ (PPหรือ LDPEผสม LLDPE )
ทีมช่วยตัดท่อ PVC
กล่องบรรจุ
การขนส่งไปให้ รพ.
Hero Guard, กรุงเทพมหานคร
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
กำลังการผลิต (หรือที่คาดว่าจะผลิตได้)
70 ชุด/วัน
รายละเอียด
กล่องใส่ท่อช่วยหายใจปรับตามความต้องการของแพทย์
และฉากกั้นป้องกัน droplet precautious (DP)
เดิมทำจาก acrylic และจุดเจาะเปิดช่องตายตัว
แพทย์นำไปใช้แล้วพบว่า
1. ทำงานไม่สะดวก เนื่องจากคนไข้แต่ละคน ขนาดศีรษะและตำแหน่งสอดท่อไม่เท่ากัน
2. การทำด้วย acrylic มีโอกาสปาดมือแพทย์ขณะทำงาน
3. ไม่ hygiene การทำความสะอาดต้องใช้เวลาและทำยาก
4. น้ำหนักมาก ยกใช้งานลำบาก
5. แผ่น acrylic หลังทำความสะอาดไประยะหนึ่ง จะเริ่มขุ่น
เป็นอุปสรรคในการมองของแพทย์
จึงเปลี่ยนวัสดุจาก acrylic เป็น PP bag หรือ LDPE ผสม LLDPE bag บนโครง PVC
โดย PP bag หรือ LDPE+LLDPE Bag ใช้งานแบบ single use แพทย์สะดวกในการเจาะตำแหน่งได้ทุกตำแหน่งตามต้องการ
Hygiene สูง เพราะ single use ไม่ต้องทำความสะอาด
เลือกโครง PVC ทำให้ น้ำหนักเบา
ยกใช้งานสะดวก และ โรงพยาบาลสามารถปรับเปลี่ยนแบบได้ตามการใช้งาน เพราะเป็นวัสดุราคาไม่แพง หาง่าย
การตัดประกอบไม่ต้องใช้ความชำนาญพิเศษ
ต้องการความช่วยเหลือ
ถุงขนาด 30 “ x 50 “ (PPหรือ LDPEผสม LLDPE )
ทีมช่วยตัดท่อ PVC
กล่องบรรจุ
การขนส่งไปให้ รพ.
ข้อมูลติดต่อ
Line id: aj_myzone , wason_tmma
Tel. 089-161-0991, 089-893-2031
โรงพยาบาลที่ต้องการ: 44
จำนวนที่ต้องการ 154
1. ปกติถ้าหมอดมยาใส่ท่อช่วยหายใจ จะมีการฉีดยาเพื่อให้คนไข้หลับและไม่หายใจ ซึ่งคนไข้ไม่ไออยู่แล้ว การกระจายเชื้อจึงลดลงอย่างมาก ทฤษฎีที่ว่ากล่องช่วยป้องกันไม่ให้คนไข้ไอใส่หน้า จึงไม่น่าเป็นประเด็น
2. กรณีผู้ป่วยไม่ได้ยาสลบ และใส่ท่อช่วยหายใจในกล่อง acrylic หากมีการดิ้นไปมา ศีรษะอาจกระทบกระแทกกล่อง รวมทั้งกล่องเลื่อนหลุดก็เป็นได้ จะเกิดความโกลาหลในช่วงนั้นเปล่าๆ
3. การใส่ท่อช่วยหายใจในกล่องอาจทำให้ใส่ท่อช่วยหายใจยากขึ้นเนื่องจากพื้นที่ที่จำกัด หลักการใส่ท่อช่วยหายใจในเคสติดเชื้อทางเดินหายใจนั้น ควรใส่ให้สำเร็จในครั้งแรกในเวลาที่เร็วที่สุด เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและลดการปนเปื้อน หากการใส่ในกล่องacrylic ทำให้ยากขึ้นและใช้เวลาเพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดอันตรายกับคนไข้ได้ รวมทั้งหากต้องยกกล่องออกกรณีใส่ท่อช่วยหายใจไม่สำเร็จ จะเสี่ยงกับการปนเปื้อนเพิ่มขึ้นหรือไม่
4. การใส่ท่อช่วยหายใจไม่ว่าจะมีกล่อง acrylic หรือไม่ การแต่งตัวต้องเต็มยศเหมือนเดิม (full protection) ไม่ได้จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรเลย
5. กล่องมีน้ำหนัก และไม่ flexible เวลาใช้ขึ้นกับสรีระคนไข้ ถ้าเจอคนไข้ที่ใส่ tube ยาก จะทำให้ใส่ยากขึ้น แขนเราจะติดในช่อง ผู้ช่วยก็ยื่นมือมาช่วยม่ได้ บางทีต้องยกกล่องออกบ่อย ๆ
6. รายที่ต้องทำ CPR ขณะใส่tube น่าจะรบกวนการกดนวดทรวงอก
ทั้งนี้หากหมอท่านใดที่จะนำกล่อง acrylic มาช่วยในการใส่ท่อช่วยหายใจ ไม่ได้เป็นข้อห้ามแต่อย่างใด เพียงแต่ต้องลองทำในเคสไม่ฉุกเฉินก่อนหลายๆครั้ง เพื่อให้ชินกับการใส่ท่อช่วยหายใจในกล่องจนมีความมั่นใจเพียงพอในกรณีต้องทำในเคสฉุกเฉิน
เพิ่มเติม วิสัญญีแพทย์หลายท่านชอบหรือ prefer แบบที่เป็นถุงพลาสติกคลุมมากกว่า ดังรูปที่นำเสนอ
😅ลืมไปอันนี้สำคัญ เรื่องการฆ่าเชื้ออุปกรณ์นี้หลังใช้ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ควรพิจารณา อย่าลืม 1 คน ต่อ 1 ครั้ง กรณีคนไข้ไม่ติดเชื้อ ต้องมีกระบวนการฆ่าเชื้อจนมั่นใจถึงจะใช้ซ้ำได้ ถ้าเป็นคนไข้ติดเชื้อแล้วกระบวนการในการทำลายคิดหนักเลย
หมายเหตุ ข้อความนี้เป็นการสะท้อนกลับจากผู้ใช้งานจริงบางส่วนเท่านั้น ขอขอบพระคุณผู้ประดิษฐ์และผู้มีจิตอาสาทุกท่านที่ช่วยพัฒนาอุปกรณ์ช่วยป้องกันแพทย์นะคะ
#รัก #หมอไก่ #YNWA
Update ขอความกรุณาผู้ส่งต่อความเห็นแชร์ต้นทางด้วยนะคะ เพราะจะมี update ความเห็นเพิ่มเติมตลอด และอยากเก็บข้อมูลจากผู้ใช้จริง