ปัญหา ผู้ป่วย COVID-19 ต้องมีการแยกผู้ป่วยเพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจายไปสู่สิ่งแวดล้อมหรือผู้ป่วยคนอื่น
Background
ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ COVID-19 เป็นโรคที่มีอัตราการแพร่ระบาดสูง จำเป็นต้องแยกผู้ป่วยจากผู้ป่วยอื่นๆเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อสู่กัน ห้องแยกโรคที่ดีที่สุดคือห้องแยกโรคแรงดันลบ (negative pressure room) หรือเรียกว่า AIIR คือห้องแรงดันลบ โดยห้องแรงดันลบนี้จะทำให้อากาศภายในห้องไม่ไหลออกมาปะปนกับอากาศภายนอก จึงสามารถลดการแพร่กระจายของเชื้อได้
อย่างไรก็ดี การดูแลรักษาผู้ป่วยโรค COVID-19 นั้นสามารถทำได้แม้ไม่มีห้องแรงดันลบ โดยให้พิจารณาดำเนินการต่อไปนี้
- ใช้หอผู้ป่วยเดิม 1 หอเป็นหอผู้ป่วยสำหรับโรค COVID-19 โดยให้ลดจำนวนเตียงในหอผู้ป่วยนี้เพื่อเพิ่มระยะห่างระหว่างเตียง (ใช้ระยะห่างระหว่างเตียงประมาณ 2 เมตร) โดยที่แต่ละเตียงต้องแยกของใช้ออกจากกันทั้งหมด
- ในกรณีผู้ป่วยวิกฤตและจำเป็นต้องใช้ห้อง ICU หากมีห้องแยกใน ICU ให้พิจารณาใช้ห้องแยก แต่หากเป็นห้องรวมอาจพิจารณาเพิ่มระยะห่างระหว่างเตียงหรือแบ่งโซนผู้ป่วย
จะเห็นได้ว่าหากไม่มีห้องแรงดันลบ เพื่อการแยกโรค ทั้งนี้โรงพยาบาลอาจต้องเสียทรัพยากรที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยในไปบางส่วน
หากท่านมีการออกแบบที่ได้รับการพิสูจน์การใช้งานแล้ว หรือ มีข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่เพื่อเป็นสาธารณะประโยชน์
สามารถติดต่อได้ที่ contact@covid19roundtable.com
วิศวกรรมสถาน, กรุงเทพมหานคร
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
วิศวกรรมสถาน, กรุงเทพมหานคร
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
รายละเอียด
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้ดาวน์โหลดคู่มือผู้ใช้ ตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet)
ตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet) ที่วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ทำต้นแบบ (Prototype) นี้ เป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ ในสถานการณ์ไวรัส COVID-19 แพร่ระบาด สำหรับจะนำใช้ในส่วนใดนั้น ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์ในส่วนนั้น ๆ และก่อนใช้งานควรทำการตรวจสอบ
– ปริมาณการถ่ายเทอากาศ >12ACH
– Differential Pressure มากกว่า 2.5 pa (โดยในห้องผู้ป่วย ความดันต้องน้อยกว่าความดันภายนอก)
– อุณหภูมิภายในและภายนอก ต่างกันไม่เกิน 2 องศาเซลเซียส
– ความชื้นสัมพัทธ์ 50-65% RH
**เพื่อความสะอาดของตู้ความดันลบต้องเปิดพัดลมอย่างน้อย 30 นาที ก่อนการใช้งาน
– เปิดพัดลมอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หลังการเลิกใช้ตู้ความดันลบ
– ต้องเปิดพัดลมอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เมื่อมีการสลับผู้ป่วยคนใหม่เข้าตู้ความดันลบ
หมายเหตุ :
– ระมัดระวังการต่อท่อลมกับพัดลมจะต้องไม่ให้เกิดการรั่วโดยเด็ดขาด (การทดสอบการรั่วทำได้โดยให้เปิดพัดลมแล้วตรวจสอบบริเวณรอยต่อโดยการใช้ฟองสบู่หรือโฟมล้างมือทำความสะอาด)
– ความหนาของพลาสติกที่กำหนดให้ใช้ ไม่น้อยกว่า 500 ไมครอนหรือ (0.5 มิลลิเมตร)
https://eit.or.th/wp-content/uploads/2020/04/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A5%E0%B8%9Anew-07-04-63.pdf
ref: https://eit.or.th/
ข้อมูลติดต่อ
กรุณาติดต่อทีมงานที่ contact@covid19roundtable.com เพื่อขอข้อมูลติดต่อค่ะ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข., ขอนแก่น
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข., ขอนแก่น
แจกจ่ายให้ใช้งานจริงแล้ว
รายละเอียด
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เสนอ 3 นวัตกรรมอุปกรณ์ช่วยป้องกันและรักษาผู้ป่วยโควิด19 และอยู่ระหว่างการทำต้นแบบเพื่อทดลองใช้จริง โดยร่วมมือกับทีมคณะแพทย์โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านใดประสงค์จะขยายผลเพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลต่างๆ สามารถนำแบบ Drawing ไปใช้งานได้ครับ อุปกรณ์ 3 เรื่องนี้ น่าจะได้ต้นแบบจริงภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ครับ
1. Temporary Negative Pressure Room สำหรับห้องผู้ป่วยในโรงพยาบาลหรือประยุกต์เป็นเต้นท์สนามได้
2. Negative Patient Transfer Unit เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยความดันลบเพื่อลดการแพร่กระจายโรคระหว่างเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด19
3. อุโมงค์ฆ่าเชื้อโควิด19
สนใจรายละเอียดติดต่อได้ที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มข.
#EN KKU# อุทิศตนเพื่อสังคม ร่วมสู้ภัยโควิด19
เราจะสู้ไปด้วยกันครับ
ข้อมูลติดต่อ
https://www.en.kku.ac.th
โรงพยาบาลที่ต้องการ: 52
จำนวนที่ต้องการ 135